วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของจังหวะ Jive และ Rock n Roll





Jive เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก NEW YORK, HALEM

ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้ร่วมกันถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) ซึ่งหมายถึงแมลงเล็กๆ ที่มีอาการแตกตื่น  ชุลมุนวุ่นวาย  เนื่องมาจากจังหวะของเพลงที่ระทึกใจ  กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง  การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง  การเหวี่ยงโยน  และการปลดปล่อยอารมณ์ มีลักษณะเหมือนอาการ  ตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็กๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว  และจากนั้น MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว จากนั้นมาไจว์ฟจึงได้เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

เอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะไจว์ฟ คือ การมีจังหวะจะโคน การออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมาจากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวห้องดนตรี 4/4 ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ สอดคล้องกับกฎ ของ I D S F การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 2 และ 4 ระยะเวลาในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีหลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา

การสื่อความหมายของจังหวะไจว์ฟ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสะบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (TORSO) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันคุณจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์ ก็สุดแล้วแต่คุณว่าจะชอบสไตล์ไหน และให้คอยติดตามผลที่ได้รับจาก กรรมการตัดสินเอาเอง

การเต้นไจว์ฟ มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ คือ
   1. Single Rhythm หรือ Boogie –Woogie หรือ ร็อค 4
   2. Double Rhythm หรือ Jitterbug หรือ ร็อค  6
   3. Triple Rhythm หรือ Jive หรือ ร็อค 8       

ในปัจจุบันนิยมเต้นไจว์ฟเป็นแบบ Triple Rhythm หรือ ร็อค  8  และในแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตราฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ

ดนตรีและการนับจังหวะไจว์ฟ เป็นดนตรีประเภท 4/4  คือมี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  ดนตรีจะมีเสียงหนักในจังหวะที่  2 และ 4  ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม อยู่ตลอดเพลง

ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี  อยู่ระหว่าง 40 – 48 ห้องเพลงต่อ 1 นาที  การนับจังหวะของไจฟว์  จะนับ  1 ,  2 ,  3 – 4 – 5, 6 – 7 - 8  หรือ เร็ว  เร็ว  เร็วและเร็ว  เร็วและเร็ว  โดย  ที่ก้าวที่ 1,  2 และ 4  มีค่าเท่ากับก้าวละ 1  จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ  3/4  จังหวะ ส่วนก้าวที่เรียก และมีค่าเท่ากับ  1/4 จังหวะ

การจับคู่ ในจังหวะนี้จับคู่แบบปิดของลาตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่นๆ เมื่อเต้นลวดลายต่างๆ  โดยเฉพาะการจับคู่แบบเปิดจะพบบ่อยมาก  การจับแบบเปิดจะเป็นการจับด้วยมือ  ข้างเดียว  คือมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง  ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม  ส่วนมือที่อิสระยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย   ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชาย  เพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนในบางลวดลาย  เช่น  ในลวดลายการเต้น  อเมริกัน  สปิน  เป็นต้น

การก้าวเท้า จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น  บางก้าวก็ไม่มี  น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้างอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ  การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ

แชสเซ่เป็นกลุ่มสเต็ป  3  ก้าว  ซึ่งจะมีการใช้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจจะมีการเต้นไปข้างหน้า  ถอยหลัง  ไปทางซ้าย  ทางขวา  รวมทั้งการหมุนตัวก็จะมีการใช้แชสเซ่

ลวดลายการเต้นของจังหวะไจว์ฟ ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
   1. เบสิค อิน ฟอลล์อะเวย์  (Basic In Fallaway)
   2. เชนจ์  ออฟ  เพลซ  ไรท์  ทู  เลฟท์  (Chang Of Places Right To Left)
   3. เชนจ์  ออฟ  เพลช  เลฟท์  ทู  ไรท์  (Chang Of Places Left To Right)
   4. ลิงค์  (Link)
   5. วิป  (Whip)
   6. เชนจ์  ออฟ  แฮนด์  บีฮาย  แบค  (Chang Of Hand Behind Back)
   7. อเริกัน  สปิน  (American Spin)
   8. สตอป  แอนด์  โก  (Stop And Go)


Rock and roll หรือ rock 'n' roll คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด๋นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด ,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม

ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s

ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล

ในปี ค.ศ. 1951 อลัน ฟรีด (Alan Freed) ดีเจจากโอไฮโอ ได้ถูกยกเครดิตให้เป็นผู้คิดคำว่า ร็อกแอนด์โรลล์เป็นคนแรก

ร็อกแอนด์โรล ได้ผสมผสาน เอาดนตรีของคนผิวขาวกับผิวดำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นดนตรีแนวใหม่ที่มีจังหวะที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งเสียงกีตาร์ที่ดัง กลองที่รัวและเร็ว วัฒนธรรมดนตรีแบบร็อกแอนด์โรล ได้มีผลต่อวัยรุ่นในยุคนั้น ทั้งภาษาและการพูดจา ที่โจ่งแจ้ง แสดงอารมณ์อย่างชัดเจน การแต่งกายและทรงผมแปลก ๆ การเต้นรำอย่างบ้าคลั่ง ฯลฯ ที่ถือว่าเป็น การแสดง ถึงตัวตน (Identity) ของตนเองออกมา ภาษากายต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดกับ สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เห็นว่าดีงาม และถูกต้องทั้งสิ้น ในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรลจึงถูกประฌามว่าเป็น ดนตรีของปีศาจ เนื่องจากความใหม่และแหวกแนวอย่างมาก

ในช่วงทศวรรษที่ 50 เพราะขณะที่ศิลปินร็อกแอนด์โรลระดับที่เป็นตำนาน ทยอยกันสร้างชื่อ และผลงานของตนเองไว้ที่อเมริกา ไม่ว่าจะเป็น บิล ฮาลีย์ (Bill Haley) ที่มีเพลงฮิตที่รู้จักกันทั่วโลกคือ Rock around the clock (1954), ชัค เบอร์รี (Chuck Berry) ผลงานที่โด่งดัง คือเพลง Meybelline (1955), ลิตเติล ริชาร์ด (Little Richard) เพลง Long tall Sally หรือ Rip it up (1956) ที่มียอดขายเกินหลักล้าน, เจอร์รี ลี ลีวิส(Jerry Lee Lewis) กับเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำ Whole latta shakin' goin' on (1957), เอลวิส เพรสลีย์ที่มีเพลงฮิตติดอันดับนับไม่ถ้วนตั้งแต่ 1956 ถึง 1958 เช่น Love me tender (1956) Loving you (1957) Jailhouse rock (1957) และ King carole (1958) หรือ บัดดี ฮอลลี(Buddy Holly) ผลงานที่ฮิตที่สุด Peggy Sue (1957)

ตัวอย่างเพลงJive และ Rock n Roll





                   

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ร็อกแอนด์โรล
        http://my.dek-d.com/nondistance-love/writer/viewlongc.php?id=654464&chapter=6
        

6 ความคิดเห็น: